สถิติ
เปิดเมื่อ9/06/2017
อัพเดท18/09/2017
ผู้เข้าชม1441
แสดงหน้า1836
สินค้า
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




สพานมิตรภาพ ไทย- ลาว

อ่าน 57 | ตอบ 0
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว อาจหมายถึง
สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 - สะพานที่เชื่อมต่อจังหวัดหนองคายเข้ากับกรุงเวียงจันทน์

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (อังกฤษFirst Thai–Lao Friendship Bridgeลาวຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ ແຫ່ງທຳອິດ) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก โดยเชื่อมต่อหมู่ที่ 1 คุ้มจอมมณี ตำบลมีชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคายของประเทศไทย เข้ากับบ้านท่านาแล้ง เมืองหาดซายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ของประเทศลาว ตัวสะพานมีความยาว 1,170 เมตร มีทางรถ 2 ช่องจราจร กว้างข่องละ 3.5 เมตร ทางเท้า 2 ช่องทาง กว้างช่องละ 1.5 เมตร และรถไฟรางเดี่ยวกว้าง 1 เมตร ตั้งอยู่กึ่งกลาง ใช้งบประมาณก่อสร้าง 30,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลีย ใช้ระยะเวลาก่อสร้างระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2537 และเพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558


 

 

ประวัติ[แก้]

สะพานแห่งนี้ได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย และนายหนูฮัก พูมสะหวัน ประธานประเทศลาว

ลักษณะของสะพาน[แก้]

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1แห่งนี้เป็นแบบคอนกรีตอัดแรง เสริมเหล็กแบบ Box Girder มีความยาวทั้งสิ้น 1170 เมตร พื้นผิวจราจรประกอบด้วยช่องจราจร 2 ช่องทาง กว้างช่องทางละ 3.5 เมตร. มีช่องทางเดินทั้งสองข้าง ข้างละ 1.5 เมตร และช่องทางเดินรถไฟตรงกลางกว้าง 1 เมตร ช่วงแม่น้ำประกอบด้วยตอม่อ 6 ตอม่อ ระยะห่างระหว่างตอม่อสะพานช่วงกลางแม่น้ำ 105 เมตร ช่วงบนฝั่งทั้ง 2 ข้าง ประกอบด้วยตอม่อ 8 ตอม่อในฝั่งไทย และ 7 ตอม่อในฝั่งลาว

ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ[แก้]

สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งแรกนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและลาว และยังส่งเสริมสายสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างสองประเทศ สะพานแห่งนี้อำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าซึ่งแต่เดิมขนถ่ายกันโดยใช้แพขนานยนต์ และยังเป็นการเปิดทางออกสู่ทะเลโดยสะดวกให้กับประเทศลาว สะพานแห่งนี้ยังคงความสำคัญในด้านการค้า และยังเป็นสัญญลักษณ์แห่งเจตจำนงของออสเตรเลียในการให้ความร่วมมือเพื่อพัฒนาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ก่อนการเปิดใช้สะพาน สถิติการนำเข้า - ส่งออกผ่านด่านศุลกากรหนองคาย ในปีงบประมาณ 2536 มีมูลค่ารวม 3.6 พันล้านบาท ในปี 2537 มูลค่าได้เพิ่มขึ้น 34 เปอร์เซ็นต์ เป็น 4.8 พันล้านบาท และเพิ่มเป็น 5.3 พันล้านบาทในปี 2538 สถิติล่าสุดในปีงบประมาณ 2554 แสดงมูลค่ารวมการนำเข้า-ส่งออกผ่านด่านศุลกากรหนองคายซึ่งสูงถึง 43 พันล้านบาท ด้านการคมนาคม ในปีงบประมาณ 2537 มีพาหนะเข้าประเทศไทยผ่านด่านมิตรภาพไทย - ลาว จำนวน 13,518 คัน และออกจำนวน 13,455 คัน ต่อมาภายหลังจากเปิดใช้สะพานแห่งนี้ จำนวนพาหนะเข้า-ออก ได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในปีงบประมาณ 2538 มีพาหนะเข้า 47,293 คัน และออก 48,658 คัน สถิติล่าสุดประจำปีงบประมาณ 2554 มีพาหนะเข้าถึง 419,659 คันและออก 424,841 คัน ด้านจำนวนจำนวนคนเข้า - ออก ผ่านด่านสะพานมิตรภาพไทย - ลาว ในปีงบประมาณ 2537 มีคนเดินทางเข้าจำนวน 55,085 คน และ ออก 50,100 คน ต่อมาในปีงบประมาณ 2538 ตัวเลขเพิ่มสูงขึ้นโดยมีคนเดินทางเข้าถึง 293,126 คน และออก 292,462 คน สำหรับในปีงบประมาณ 2554 มี คนเดินทางเข้าจำนวน 2,713,495 คน และออก 2,657,100 คน[1]

การเฉลิมฉลอง[แก้]

ในระหว่างวันที่ 4 ถึง 8 เมษายน พ.ศ. 2557 ณ หาดจอมมณี จังหวัดหนองคายได้ร่วมมือกับนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศออสเตรเลีย จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปี สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 ทางจังหวัดหนองคาย กำหนดจัดการเฉลิมฉลองวันครบรอบ 20 ปี สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ และการท่องเที่ยวระหว่างจังหวัดหนองคายกับนครหลวงเวียงจันทน์ โดยในงานมีการจุดดอกไม้ไฟอย่างยิ่งใหญ่ โดยมีการจุดดอกไม้ไฟตรงกึ่งกลางสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 ระหว่างเขตประเทศไทยและเขตประเทศลาว และการแสดงต่าง ๆ ภายในงานด้วย เช่น การแสดงศิลปะวัฒนธรรมของไทย และลาว เป็นต้น


สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 2 - สะพานที่เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารเข้ากับแขวงสุวรรณเขต

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 (อังกฤษSecond Thai–Lao Friendship Bridgeลาวຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ ແຫ່ງທີສອງ) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารของประเทศไทย เข้ากับแขวงสุวรรณเขตของประเทศลาว เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเศรษฐกิจตะวันตกตะวันออก ซึ่งเริ่มจากพม่า ผ่าน ไทย ลาวและสิ้นสุดที่เวียดนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงของธนาคารการพัฒนาแห่งเอเชีย ซึ่งมีความยาวทั้งหมด 1,600 เมตร มีความกว้าง 12 เมตร และมีช่องการจราจร 2 ช่อง[1] มูลค่าการก่อสร้างประมาณ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแหล่งทุนในการก่อสร้างเป็นเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาลญี่ปุ่นให้กับรัฐบาลลาว 4,011 ล้านเยน และให้กับรัฐบาลไทย 4,079 ล้านเยน ใช้เวลาก่อสร้างตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2549

 

 

ประวัติ[แก้]

ตัวสะพานเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2547 ระหว่างการก่อสร้างได้เกิดอุบัติเหตุจากเครื่องเครน ที่ทำให้ ที่ปรึกษา วิศวกรและคนงานเสียชีวิต 9 คน (ชาวไทย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และลาว) บาดเจ็บ 10 คน (ชาวไทย ญี่ปุ่น และลาว) และหายสาบสูญ 1 คน (ชาวลาว) เมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 และสะพานเปิดให้สาธารณะใช้เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ในระหว่างการขับรถมายังฝั่งไทย คนขับรถมาจากฝั่งลาวต้องเปลี่ยนฝั่งการขับ เนื่องจากประเทศลาวขับรถทางขวามือ ส่วนประเทศไทยขับรถทางซ้ายมือ ดังนั้นคนไทยเองจึงต้องเปลี่ยนฝั่งการขับรถไปเป็นทางขวาเมื่อเข้าประเทศลาวด้วยเช่นเดียวกัน

ทางเข้าสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่มุกดาหาร[แก้]

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 239 หรือ ทางเข้าสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่มุกดาหาร เป็นทางหลวงแผ่นดินสายหนึ่ง เริ่มต้นบนถนนชยางกูร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212) ที่แยกสะพานมิตรภาพ 2 สิ้นสุดบริเวณประตูทางเข้าด่านพรมแดนมุกดาหาร มีระยะทาง 0.517 กิโลเมตร

 


สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 3 - สะพานที่เชื่อมต่อจังหวัดนครพนมเข้ากับท่าแขก

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3 (อังกฤษThird Thai–Lao Friendship Bridgeลาวຂົວມິດຕະພາບລາວ-ໄທ ແຫ່ງທີ 3)[1] เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยที่หมู่ที่ 1 บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม กับประเทศลาวที่บ้านเวินใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน

ควบคุมการก่อสร้างโดยสำนักก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวงและบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้างก่อสร้างใช้งบประมาณก่อสร้างจากรัฐบาลไทยทั้งสิ้น 1,723 ล้านบาท มีระยะเวลาการก่อสร้างรวม 900 วัน แล้วเสร็จในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งด้านการค้า และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงจากประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และภาคใต้ของประเทศจีน ซึ่งมีความยาวรวม 1,423 เมตร มีความกว้าง 13 เมตร และมีการช่องจราจร 2 ช่อง และไม่มีทางรถไฟ และเพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015

ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม - คำม่วน) วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552 ณ มณฑลพิธี บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม และเสด็จทรงเป็นประธานพิธีเปิดอย่างเป็นทางการร่วมกับสหายบุนยัง วอละจิด รองประธานประเทศลาว ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 11.11 น.[2][3][4][5][6]

สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 4 - สะพานที่เชื่อมต่อจังหวัดเชียงรายเข้ากับห้วยทราย

สะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) (ลาวຂົວມິດຕະພາບລາວ - ໄທ ແຫ່ງທີ 4) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยที่หมู่ที่ 9 บ้านดอนมหาวัน ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย กับประเทศลาวที่บ้านดอน เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ระยะทาง 2.48 กิโลเมตร รูปแบบของสะพานเป็นคอนกรีตรูปกล่อง (Segmental Concrete Box Girder) มีเสา 4 เสา กว้าง 14.70 เมตร เป็นสะพานขนาด 2 เลน แต่ละเลนกว้าง 3.50 เมตร นอกจากสะพานแล้วยังมีโครงการก่อสร้างถนนไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตรเข้าในเขตเมืองห้วยทราย ซึ่งเป็นถนนลาดยางขนาดสองเลน รวมทั้งมีการก่อสร้างด่านตรวจคนเข้าเมืองด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านช้าง เป็นการเชื่อมต่อกับเส้นทางR3A[1][2]เส้นทางR3A] ที่เชื่อมต่อระหว่างจีน – ลาว –ไทย

บริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นกลุ่ม CR5-KT Joint Venture ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท China Railway No.5 ของจีนและบริษัท กรุงธน เอนจิเนียริง จำกัดของไทย งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 1,624 ล้านบาท โดยการสมทบทุนระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ส่วนรัฐบาลลาวรับผิดชอบค่าชดเชยให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยก่อสร้างตัวสะพานแล้วเสร็จในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานร่วมในพิธีเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย)[3][4][5] ร่วมกับนายบุนยัง วอละจิต รองประธานประเทศลาว

สำหรับสะพานแห่งนี้ หลังจากที่ได้ก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 เชียงของห้วยทราย ซึ่งเป็นสะพานที่เชื่อต่อเส้นทางอาร์ 3 เอจากกรุงเทพ - คุณหมิง เพื่อสร้างเศรษฐกิจที่ดีระหว่าง 3 ประเทศที่ถนนสายนี้ผ่าน ซึ่งการเปิดใช้สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 4 ในฤกษ์ดีวันที่ 11 เดือน 12 ปี 13 จะเป็นการเชื่อมต่อและเป็นการเปิดใช้เส้นทางอย่างเป็นทางการ เพื่อให้การคมนาคมระหว่างประเทศสะดวกมากยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015

เส้นทางอาร์3เอ มีต้นทางเริ่มจากเชียงของ ประเทศไทย-บ่อแก้ว-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น ของประเทศลาว-บ่อหาน-เชียงรุ่งหรือจิ่งหง ในแคว้นสิบสอ ปันนา นครคุนหมิงมณฆลยูนนาน ของจีน โดยมีระยะทางจากกรุงเทพฯถึงคุนหมิงรวมกว่า 1800 กิโลเมตร นอกจากนี้ ไทยและจีนจะร่วมมือกันก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เชียงของ-ห้วยทราย โดยมีวงเงินก่อสร้างประมาณ 1,000 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2554 สำหรับการก่อสร้างถนนสายเศรษฐกิจอาร์3เอ เพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมในกลุ่มประเทศอนุภาคลุ่มน้ำโขงนับเป็นโครงการบูรณาการเศรษฐกิจในระดับมหภาค ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวนับว่าเป็นโอกาสสูงมากที่ประเทศไทยจะมีช่องทาง โอกาสในการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนตอนใต้ ที่จะเดินทางมาทางรถยนต์และทางเรือเพื่อมาท่องเที่ยวยังจังหวัดต่างๆทางภาคเหนือของประเทศไทย เนื่องจากจำนวนประชากรของจีนนั้น มีจำนวนมากกว่า 1,400 ล้านคน

 


โครงการสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 5 - สะพานที่เชื่อมต่อจังหวัดบึงกาฬเข้ากับปากซัน
สะพานมิตรภาพ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) (อังกฤษ5th Thai-Lao Friendship Bridgeลาวຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ 5) เป็นโครงการสะพานข้ามแม่น้ำโขงเพื่อเชื่อมมิตรภาพระหว่างไทยกับลาว เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2554 โครงการนี้จะยกระดับข้ามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 บริเวณกิโลเมตรที่ 125+925 ในท้องที่หมู่ 2 บ้านดอนยม ตำบลไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ข้ามแม่น้ำโขง และเชื่อมต่อทางหลวงหมายเลข 13 ที่บ้านกล้วย เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาทางหลวงของลาวที่จะก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองปากซันด้านตะวันออก โดยโครงการนี้ทั้ง 2 ประเทศ ตั้งใจจะเสริมสร้างโครงข่ายเส้นทางคมนาคมระหว่างไทย ลาว เวียดนาม และจีน ให้มีความสะดวก ปลอดภัย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ปัจจุบันจังหวัดบึงกาฬมีด่านสากลไทย-ลาว (บึงกาฬ-ปากซัน) เปิดให้บริการประชาชนที่เดินทางและขนส่งสินค้าเข้า-ออกระหว่างประเทศผ่านเรือและแพขนานยนต์เป็นหลัก

โครงการสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 6 - สะพานที่เชื่อมต่อจังหวัดอุบลราชธานีเข้ากับแขวงสาละวัน

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 6 (นาตาล-ละคอนเพ็ง) เป็นโครงการใหม่ จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2555 ที่จังหวัดสุรินทร์ มีมติเห็นชอบในหลักการของกรอบข้อเสนอแผนโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงช่วงอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี กับเมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน [1] จุดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง ทางทิศใต้ บ้านปากแซง หมู่ 3 ตำบลพะลาน อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งสถานที่แห่งนี้ ครม.สัญจร ได้ลงความเห็นชอบอนุมัติเมื่อครั้งประชุมสัญจรที่จังหวัดสุรินทร์ เป็นสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 6 ข้อดี คือ เมื่อสร้างสะพานตรงนั้น จะเป็นการยกระดับความเจริญในหลาย ๆ ด้าน และที่จะเป็นจุดเด่นของสะพานแห่งนี้ คือ จะสามารถย่นระยะทางในการที่จะออกจากประเทศไทย ในด้านการค้าขาย ด้านเศรษฐกิจผ่านประเทศลาว ไปที่เมืองดานัง ระยะทางเพียง 137 กม. เท่านั้น และจะสามารถขึ้นไปทางจีนได้ด้วย และจะได้ประโยชนทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมวัฒนธรรม และด้านความมั่นคง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สะพานมิตรภาพไทย-ลาวผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สะพานมิตรภาพไทย-ลาวผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว
สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่วิดีโอด้านล่าง
 
https://www.youtube.com/watch?v=TMDAqNV4120




 
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :